ผู้สมัครงาน
HR ฟรีแลนซ์ เป็นอีกเส้นทางหนึ่งของการเติบโตในอาชีพที่ดี และเมื่อมองในมุมนายจ้างก็ต้องการคนที่มีความสามารถ จ้างเข้ามาแล้วทำงานได้เลย ไม่ต้องใช้เวลามากมายในการเรียนรู้งาน ซึ่งหากจ้างประจำ นอกจากจะสรรหาได้ยากแล้ว งบประมาณก็สูง แถมไม่รู้ด้วยว่าเข้ามาแล้วจะตรงความต้องการรึเปล่า
ส่วนการจ้างฟรีแลนซ์หรือพนักงานอิสระ ทั้งการันตีในความสามารถได้มากกว่า ไม่ต้องมีข้อผูกมัดอะไรมาก ไม่ต้องเสียสวัสดิการใด ๆ จ้างกันเป็นครั้งๆ หรือเป็นงาน งบในการจ้างจึงไม่สูงเท่าพนักงานประจำ เช่นนี้จึงตอบโจทย์องค์กรได้ตรงจุดมากกว่า
ซึ่งการทำงานสำหรับฟรีแลนซ์ก็มีหลายแบบ เช่น รับงานเป็น project แล้วจบไป, ทำงานประจำไปด้วยและรับเป็นงานเสริม (เหมาะกับที่อยากเริ่มต้นเข้าสู่วงการฟรีแลนซ์ แต่ยังมีประสบการณ์ไม่สูงมาก), และการรับงานต่อเนื่องจากองค์กรหนึ่ง แต่ไม่ได้สังกัด
ส่วนจะมีงานแบบไหนบ้าง ? คุณสมบัติของ HR ฟรีแลนซ์ต้องเป็นอย่างไร ?
HR Buddy มีคำตอบให้คุณค่ะ
1 วิทยากร/ที่ปรึกษาเฉพาะทาง : ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในด้านใดด้านหนึ่งพอสมควร เช่น นโยบายต่าง ๆ ในองค์กร หรือการพัฒนาคนในองค์กร ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีความพยายาม ทุ่มเทและตั้งใจเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองตลอดเวลา สำคัญสุดคือผลงานที่อ้างอิงได้ว่า เราเก่งในด้านนั้นจริง อาจต้องเริ่มจากการสร้างตัวตนผ่านช่องทางออนไลน์ โดยการทำคอนเทนต์หรือวิดีโอ และเป็นไปได้ว่าช่วงแรกอาจต้องเป็นการให้ความรู้โดยไม่มีค่าจ้างไปก่อน เพื่อพิสูจน์ความสามารถ ถ้าตั้งใจทำผลงานออกมาได้ดี ใคร ๆ ก็ต้องการตัวค่ะ อนาคตต่อไป งานเข้าจนรับไม่ทันแน่นอน หรือถ้าอยากเป็นที่ปรึกษาแบบรอบด้าน ก็ต้องศึกษาหาความรู้ในงาน HR ให้ครบรอบด้าน และต้องรู้จริงอย่างเชี่ยวชาญรอบด้านด้วยนะคะ
2 นักเขียนคอนเทนต์ : ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่ต้องมีทักษะในด้านการเขียนที่สื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนด้วยอาจเริ่มต้นจากการสร้างเพจ หรือสร้างเว็บไซต์ ให้เป็นที่รู้จักก่อน อนาคตก็สามารถรวบรวมเป็นเล่ม E-book เพื่อต่อยอดเป็นรายได้ หรืออาจได้รับการติดต่องานในข้อ1 ก็เป็นได้เช่นกันค่ะ
3 ที่ปรึกษาด้านอาชีพ : เนื่องจากการหางานตลอดช่วงที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอัตราจ้างงานมีไม่สูงมากและการคัดคนก็เข้มข้นมากขึ้น หลายคนต่างบ่นว่า ส่งเรซูเม่ไปเป็นร้อยเป็นพัน ไม่เคยถูกเรียกเลย
HR ที่อยู่กับงานสรรหาคนเข้าทำงานโดยตรง จึงตอบคำถามให้กับคนหางานได้ดีและน่าเชื่อถือที่สุด ตั้งแต่การเขียนเรซูเม่, การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน, การเข้าไปทำงานและพัฒนาตัวเองเพื่อวางแผนเส้นทางอาชีพให้เติบโตต่อไป แต่จุดเริ่มต้นอาจต้องสร้างตัวตนและให้ความรู้ฟรีไปก่อน ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ (ในอนาคต) ได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มโอกาสให้คนได้งานทำด้วยนะคะ
4 การสรรหาพนักงาน : หรือที่เราเรียกว่า Recruiter มีทั้งการหาคนในตำแหน่งเฉพาะทาง ซึ่งต้องอาศัยคนมีประสบการณ์ในการสรรหาพอสมควรค่ะ หรือหากเป็นตำแหน่งทั่วไป องค์กรอาจยืดหยุ่นให้ได้ ซึ่งก็เป็นโอกาสให้คนที่ไม่ได้จบสายตรงและไม่มีประสบการณ์เช่นกัน แต่ก็ต้องมีทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวข้องพอสมควร ตั้งแต่การเขียนคอนเทนต์ประกาศงาน, การเลือกช่องทางที่เหมาะสม รวมถึงการสัมภาษณ์เบื้องต้นเพื่อคัดเลือกคนที่ตรงความต้องการได้มากที่สุดด้วยค่ะ
อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดคือการสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักผ่านผลงานของเรา ซึ่งช่องทางออนไลน์ก็ถือว่ามีอิทธิพลไม่น้อย สำหรับทุกงานเลยก็ว่าได้ แต่ก็ต้องใช้เวลา ถามว่าจะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ตัวเราเท่านั้นค่ะ
ขอบคุณข้อมูล : อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center
Website : www.senmentor.com
Line : wisebrown
Tel : 081-820-9271
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : [email protected]
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด